อันตราย ‘โรคกระดูกพรุน’ ภัยเงียบของคนทุกวัย เช็กอาการเริ่มต้นก่อนสาย
สัญญาอันตราย ‘โรคกระดูกพรุน’ ภัยเงียบของคนทุกวัน เช็กอาการเริ่มต้นก่อนสาย บอกความแตกต่างระหว่างโรคกระดูกเสื่อม
เมื่อเริ่มอายุมากขึ้น การบาดเจ็บจากการชนหรือล้มก็ดูจะรุนแรงขึ้นกว่าที่เคย ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของ “โรคกระดูกพรุน” ที่ส่งผลให้กระดูกของเราไม่แข็งแรง และหากปล่อยไว้นานและไม่ได้รับการรักษาอาจถึงขั้นกระดูกหักได้ง่าย ๆ พญ. อติพร เทอดโยธิน ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ศูนย์กระดูกและข้อ รพ.วิมุตผู้เชี่ยวชาญด้านโรคกระดูกพรุน เเละการดูเเลกระดูกเเละกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุจากอังกฤษ เเละเวชศาสตร์การชะลอวัยจากสหรัฐอเมริกา จะมาเล่าถึงความรุนแรงของโรคกระดูกพรุน พร้อมแนะนำวิธีป้องกันและแนวทางการรักษา เพื่อเสริมสร้างร่างกายและกระดูกที่แข็งแรงตามวัย พร้อมใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ในทุก ๆ วัน
- “โรคกระดูกพรุน” ภัยเงียบที่ทุกคนเป็นได้
“โรคกระดูกพรุน” ส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุ เกิดจากการที่มวลกระดูกในร่างกายลดลง ส่งผลให้กระดูกบางลงและไม่แข็งแรงเหมือนเดิม ถึงขั้นที่ว่าแค่ล้มเบา ๆ หรือยกของหนักก็ทำให้กระดูกหักได้ พญ. อติพร เทอดโยธิน อธิบายว่าโรคกระดูกพรุนมักเกิดกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย “ผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนประมาณ 33% ส่วนเพศชายจะอยู่ประมาณ 20% โดยทั่วไปแล้ว โรคนี้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เพราะกระดูกของผู้หญิงมีขนาดเล็กกว่า และเมื่อผู้หญิงเริ่มเข้าสู่วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงที่ช่วยยับยั้งการสลายตัวของกระดูกจะลดลง ส่งผลให้กระดูกสลายตัวไปอย่างรวดเร็ว”
- “โรคกระดูกพรุน” ภัยเงียบที่ทุกคนเป็นได้
“โรคกระดูกพรุน” ส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุ เกิดจากการที่มวลกระดูกในร่างกายลดลง ส่งผลให้กระดูกบางลงและไม่แข็งแรงเหมือนเดิม ถึงขั้นที่ว่าแค่ล้มเบา ๆ หรือยกของหนักก็ทำให้กระดูกหักได้ พญ. อติพร เทอดโยธิน อธิบายว่าโรคกระดูกพรุนมักเกิดกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย “ผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนประมาณ 33% ส่วนเพศชายจะอยู่ประมาณ 20% โดยทั่วไปแล้ว โรคนี้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เพราะกระดูกของผู้หญิงมีขนาดเล็กกว่า และเมื่อผู้หญิงเริ่มเข้าสู่วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงที่ช่วยยับยั้งการสลายตัวของกระดูกจะลดลง ส่งผลให้กระดูกสลายตัวไปอย่างรวดเร็ว”
- แนวทางการรักษา “โรคกระดูกพรุน” ก่อนเกิดอันตรายร้ายแรง
สำหรับคนที่มีภาวะกระดูกบางแต่ยังไม่ถึงขั้นกระดูกพรุน แพทย์ รพ.วิมุต แนะนำว่าสามารถรักษาได้ด้วยตนเองโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยเน้นอาหารที่มีประโยชน์ และหมั่นออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ป้องกันการหกล้ม ทำกิจกรรมกลางแจ้งเพื่อเสริมระดับวิตามินดีในร่างกาย ควบคู่ไปกับการรับประทานแคลเซียม และวิตามินดีเสริมตามคำแนะนำของแพทย์ ส่วนในกรณีที่มีการใช้ยาที่มีผลต่อมวลกระดูก เช่น ยาประเภทสเตียรอยด์ หรือยารักษาโรคมะเร็งบางชนิด แนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อตรวจตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที
ถ้าหากพบว่าเป็นโรคกระดูกพรุนแล้ว การรักษาก็จะเป็นไปตามความรุนแรงของโรค โดยเริ่มจากการปรับอาหาร การออกกำลังกาย เเละไลฟ์สไตล์ให้เหมาะสม พร้อมกับการให้ยารักษาโรคกระดูกพรุนร่วมด้วย ซึ่งตัวยาจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ยาเพิ่มการเสริมสร้างกระดูกและยายับยั้งการสลายกระดูก ทั้งนี้ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิดตลอดการใช้ยาและการรักษา
“แม้ว่าโรคกระดูกพรุนจะพบมากในผู้สูงวัย แต่สิ่งที่เราทำได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ คือการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงไว้ตั้งแต่วัยรุ่น และหมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปีโดยไม่ต้องรอให้เจ็บหนัก หากพบว่ามีความเสี่ยงหรือเป็นโรคกระดูกพรุนจะได้รักษาได้ทันเวลา เพื่อให้เรามีสุขภาพที่ดี และมีความสุขได้ในทุก ๆ วัน” พญ. อติพร เทอดโยธิน กล่าวทิ้งท้าย